สถานบริการสาธารณสุข
จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีโรงพยาบาล 7 แห่ง จำนวนเตียงรวมทั้งสิ้น 420 เตียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล 72 แห่ง สถานบริการสาธารณสุขชุมชน 63 แห่ง หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 10 แห่ง มาลาเรียคลินิก 15 แห่ง ศูนย์มาลาเรียชุมชน 21 แห่ง และสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกรมการแพทย์ 1 แห่ง
สถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีสถานบริการในระดับ Primary Care และ Secondary Care จำแนกออกเป็น ดังนี้
- โรงพยาบาล มีโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 150 เตียง (ระดับ S) จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ โรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง (ระดับ M2) จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแม่สะเรียง โรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง (ระดับ F1) จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลปาย โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง (ระดับ F2) จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลขุนยวม โรงพยาบาลแม่ลาน้อย โรงพยาบาลปางมะผ้า และโรงพยาบาลสบเมย
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มีจำนวน 72 แห่ง กระจายอยู่ในพื้นที่ทั้ง 7 อำเภอ
- สถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) มีสถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) เปิดบริการทั้งหมด 63 แห่ง โดยมีข้าราชการ / ลูกจ้างประจำ (พสช.) ปฏิบัติงานประจำ มีพนักงานสุขภาพชุมชน ( พสช.) ที่ผ่านการอบรม อสม.ที่ผ่านการอบรมความรู้มาปฏิบัติงาน เพื่อให้การจัดบริการสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร เกิดความต่อเนื่องและประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการ
- สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดของกรมควบคุมโรค คือ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง (ศตม.ที่ 1 แม่ฮ่องสอน) เป็นหน่วยงานระดับจังหวัดและมีหน่วยงาน ระดับอำเภอ คือ หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง (นคม.) จำนวน 10 แห่ง และมาลาเรียคลินิก จำนวน 15 แห่ง
- สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกรมการแพทย์ คือ โรงพยาบาลธัญญารักษ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 1 แห่ง ขนาด 75 เตียง เปิดให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดทั้งในลักษณะการบำบัดแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และบำบัดในชุมชน
อำเภอ | จำนวนโรงพยาบาล (แห่ง) | จำนวน (เตียง) | ระดับตาม Service Plan | รพ.สต. (แห่ง) | สสช. (แห่ง) | นคม. (แห่ง) | มาลาเรียคลินิก (แห่ง) | ศูนย์มาลาเรียชุมชน (แห่ง) |
เมืองแม่ฮ่องสอน | 1 | 150 | S | 16 | 9 | 2 | 2 | 2 |
แม่สะเรียง | 1 | 90 | M2 | 11 | 14 | 2 | 1 | 18 |
ปาย | 1 | 60 | F1 | 11 | 6 | 1 | 1 | – |
ขุนยวม | 1 | 30 | F2 | 10 | 5 | 1 | 1 | 2 |
แม่ลาน้อย | 1 | 30 | F2 | 11 | 10 | 1 | 2 | 3 |
สบเมย | 1 | 30 | F2 | 8 | 10 | 2 | 2 | 11 |
ปางมะผ้า | 1 | 30 | F2 | 5 | 5 | 1 | 1 | 1 |
รวม | 7 | 420 | – | 72 | 59 | 10 | 10 | 37 |
บุคลากรสายวิชาชีพ
ในปี พ.ศ. 2564 มีบุคลากรสายวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวนแพทย์ จำนวน 78 คน ทันตแพทย์ จำนวน 28 คน เภสัชกร จำนวน 43 คน พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 429 คน ทั้งนี้ ภาพรวมสัดส่วนบุคลากรสายวิชาชีพต่อประชากรของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ต้องรับผิดชอบประชากรในสัดส่วนที่สูงกว่าสัดส่วนต่อประชากรระดับประเทศที่กำหนด
สาขาวิชาชีพ | จำนวนผู้ปฏิบัติงานจริง (คน) | สัดส่วนต่อประชากร ระดับจังหวัด | สัดส่วนต่อประชากร ระดับประเทศ |
แพทย์ | 78 | 1 : 3,643 | 1 : 1,771 |
ทันตแพทย์ | 28 | 1 : 9,471 | 1 : 8,472 |
เภสัชกร | 43 | 1 : 5,571 | 1 : 4,569 |
พยาบาลวิชาชีพ | 429 | 1 : 567 | 1 : 395 |
สถิติการเจ็บป่วยของประชากร
- อัตราเกิดมีชีพต่อประชากรพันคน ปี พ.ศ.2563 เท่ากับ 10.08 อัตราตายต่อประชากรพันคน เท่ากับ 5.48 อัตราเพิ่มตามธรรมชาติต่อประชากรร้อยคน เท่ากับ 4.59
- สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอก ปี พ.ศ. 2564 เรียงจากมากไปน้อย 5 อันดับแรก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง , การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน , ความผิดปกติของฟันและโครงสร้าง , โรคอื่นๆ ของหลอดอาหารและกระเพาะ , เบาหวาน ตามลำดับ
- สาเหตุการตาย ปี 2563 เรียงจากมากไปน้อย 5 อันดับสาเหตุแรก ได้แก่ สาเหตุการตายไม่ชัดเจนหรือไม่ทราบสาเหตุ , โรคเกี่ยวกับระบบประสาท , ปอดบวมหรือปอดอักเสบ , เนื้อสมองตาย ไม่ระบุรายละเอียด , โรคเกี่ยวกับหลอมลมและปอด 4. สาเหตุการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่สำคัญ ปี 2563 เรียงจากมากไปน้อย 3 อันดับโรค ได้แก่ อุจจาระร่วง รองลงมาคือ ปอดอักเสบ , ไข้เลือดออก ตามลำดับ ซึ่งเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยของประชากรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมาโดยตลอด